วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน


สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน


ในช่วงเทศการสำคัญ วันตรุษจีน นี้ ขออวยพรให้ เพื่อนมิตรรักสหายทุกท่าน “ว่านซื่อหยูอี้  万事如意 สมความปรารถนา” ในทุกเรื่องที่หวัง ขอให้เอนติด คะแนนโอเน็ต โอเค สอบ Get pat ผ่านทำไค้ๆ (หรือได้ทำหว่า ^^) ซึ่งวันนี้เพื่อให้เข้าธีม วันตรุษจีน เรา ก็มี สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน มานำเสนอ ไม่ถึงกับบู๊ล้างผลาญ แค่รักษาลมปราณ ประวัติ สัตว์ในตำนาน กับ เทพเจ้า ของจีน !!

สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน

สัตว์เทพในตำนานของจีน
 ” กิเลน “
ถ้าเป็นตัวผู้เรียกว่า ” กิ ” ถ้าเป็นตัวเมียเรียกว่า ” เลน ” หรือ “กิเลน” กิเลน ตามตำนานจีนว่ามีรูปร่างเหมือนกวาง แต่มีเขาเดียว หางเหมือนวัว หัวเป็นมังกร ตีนมีกีบเหมือนม้า (บางตำราว่ามีตัวเป็นสุนัข ลำตัวเป็นเนื้อสมัน) เกิดจากธาตุทั้งห้า คือ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และโลหะ ผสมกัน คาสิโนออนไลน์
  • เชื่อว่า กิเลน มีอายุอยู่ได้ถึงพันปี
  • ถือว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
  • เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี
  • ปรากฏให้เห็นเมื่อใด ก็จะเกิดผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขเมื่อนั้น
  • กิเลน เป็นหนึ่งใน สี่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบด้วย หงส์ เต่า มังกร และ กิเลน (บ้างว่าเป็น เสือ)
ตามความเชื่อเรื่อง การสร้างโลกของจีนในยุคฟูซี ( 伏羲 )
ยุคฟูซี เป็นผู้ปกครองชนเผ่าคนแรกของมนุษย์ ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ จนสามารถพึ่งตัวเองได้ วันหนึ่งมี กิเลน ตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำหวงโฮ บนหลัง กิเลน มีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า “แผนที่เหอ ” ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร หลังจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ก็บังเกิดและเจริญสืบต่อเรื่อยมา
ตามตำนาน กิเลน ของไทย
คนไทยคงรู้จัก กิเลน ของจีนมานานแล้ว ในสมุดภาพ สัตว์ป่าหิมพานต์ที่ช่างโบราณได้ร่างแบบสำหรับผูกหุ่นเข้า กระบวนแห่พระบรมศพครั้งรัชกาลที่ 3ก็มีรูป กิเลนจีน ทำหนวดยาว ๆ ส่วนภาพ กิเลนแบบไทย มีกระหนกและ เครื่องประดับเป็นแบบไทยๆ การจัดลายประกอบผิดไปจากใน สมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์โบราณ นั้นบ้าง ที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ กิเลนไทยมีสองเขา ของจีนแท้ ๆ มีเขาเดียว ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของกวีเอกสุนทรภู่ ก็มี สัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกิเลนนี้ในเรื่องด้วย คือ ม้ามังกร หรือ ม้านิลมังกร นั่นเอง
สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
มังกร
ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่า มังกร คือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง
  • พบมังกรได้ที่่ แม่น้ำและทะเลสาบ
  • มังกรชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน
  • มังกร ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ เสริมสร้างความมั่นใจ และ ความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง
  • กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และ บรรทมบนเตียงมังกร
  • มังกรจีน จะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้
  • โหนกที่อยู่บนหัว เรียกว่า เชด เม่อ (ch’ih muh)
  • แต่ถ้า มังกรจีน ตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้ 
ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และ มังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้น เป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนั้น มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง” ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และ เพศชาย
ตามตำนานในสมัยโบราณของจีน มี เจ้าแม่นึ่งออ หรือ หนี่วา มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่หัวเป็นงู ซึ่งในบางตำราก็มีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าว่ามีลำตัวตัวท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นงู เมื่อเจ้าแม่นึ่งออสิ้นอายุไข นางได้ตายไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี แต่ศพของนางกลับไม่เน่าเปื่อย และเมื่อมีคนลองเอามีดผ่าท้องของนางดู ก็ปรากฏมีมังกรเหลืองตัวหนึ่งพุ่งออกมาแล้วเหาะขึ้นฟ้าไป
ตามตำราดึกดำบรรพ์ของจีนกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้น ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าฟูฮี,ฟูซี หรือฟูยี (หรือเมื่อประมาณ 3,935 ปีก่อนพุทธกาล) มีตำนานกล่าวกันไว้ว่า มีมังกรอยู่ตัวหนึ่งเป็นเจ้าเหนือน่านน้ำทั้งปวงเป็นระยะเวลาหลายพันปี ซึ่งแท้จริงแล้วมังกรตัวนั้นก็คือ พระเจ้าฟูฮี แปลงร่างนั่นเอง พระเจ้าฟูฮีนั้นป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก ทรงคิดประดิษฐ์ของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น “โป๊ย-ก่วย” หรือ ยันต์แปดทิศ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้กำหนดการที่ให้ชายหญิงมีการมั่นหมายกันเป็นคู่ครองอีกด้วย
สัตว์เทพในตำนานของจีน
สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
” เต่ามังกร “ 
เต่ามังกร สัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง อายุยืน สุขภาพดี ตั้งใจ มุมานะ นำไปสู่ความก้าวหน้า ความสำเร็จ อย่างมั่นคง ยืนยาว และรวมถึงความเพิ่มพูนด้านทรัพย์สินเงินทอง และป้องกันคุ้มภัยจากสิ่งชั่วร้าย
  • เต่า เป็นตัวแทนของความยั่งยืน แข็งแรง อดทน มีเกราะป้องกันอันตราย
  • มังกร คือ ความยิ่งใหญ่ ความดีงาม ความกล้าหาญ วาสนาบารมีสูงส่ง จึงถือเป็นมงคลสูงสุด
  • เมื่อสัตว์มงคลทั้งสองชนิดมารวมกัน (เต่ามังกร) ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของชาวจีนในอดีต และเป็นที่เชื่อถือมาจนถึงปัจจุบัน
เต่ามังกร เป็นสัตว์เทพที่มีพลังอำนาจ เป็นที่ศรัทธาสูงสุดของราชวงศ์ถัง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังได้สร้างรูปปั้นเต่ามังกรไว้หน้าพระราชวัง และเป็นความเชื่อสืบต่อกันมาของชาวจีน เพราะมีความเชื่อว่า เต่ามังกร เป็นลูกตัวที่ ๙ ของ พญามังกร ซึ่งออกมาเป็นเต่าหัวเป็นมังกร  
สัตว์เทพในตำนานของจีน
สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
สัตว์เทพประจำทิศใต้ในคติจีน “ หงส์ “
หงส์ เป็น เจ้าแห่งปักษา และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่งของจีนมาแต่โบราณ มีรูปลักษณ์เดิมมาจากนกหลากหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้า ห่านฟ้า นกกระจอก เหยี่ยวนกกระจอก นกนางแอ่นฯลฯ มีความหมายที่ดี 5 ประการ คือมีคุณธรรม, ความยุติธรรม, ศีลธรรม, มนุษยธรรม, สัจธรรม ในตำนานกล่าวว่า
  • หงส์ มีรูปคล้ายไก่ฟ้า
  • มีสีขนสลับลายเป็นประกาย มีนิสัยรักสะอาด ช่างเลือก (มีความละเอียดอ่อนประณีต)
  • เนื่องจากรูปลักษณ์เป็นนก ประจำทิศใต้ ธาตุไฟ สีแดง จึงได้ชื่อว่า หงส์แดง
  • หงส์ ชาวจีนเรียกว่า หง มีความหมายว่า ความสวย ความสง่างามเพศหญิง
  • หงส์ มีหัวสีแดง จะเป็นหงส์ตัวเมีย
  • หงส์ หัวสีเขียวหรือสีน้ำเงิน จะเป็นหงส์ตัวผู้
โดยนำเอานก 5 ชนิดมาผสมกันเป็น หงส์
  1. หัว มาจาก ไก่ฟ้า
  2. ปาก มาจาก นกแก้ว
  3. ตัว มาจาก เป็ดแมนดาริน
  4. ขา มาจาก นกกระสา
  5. หาง มาจาก นกยูง
บางตำราจึงได้แบ่งนกหงส์ออกเป็น 5 ชนิด คือ ชนิดขนแดง ขนสีม่วง ขนสีเขียว ขนสีเหลือ และขนสีขาว และชนิดสีขาวเรียกกันโดยทั่วไปว่า ห่านฟ้า ภายหลังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อลัทธิเต๋า จากสัตว์เทพค่อยวิวัฒนาการเป็นรูปลักษณ์ของครึ่งคนครึ่งสัตว์ จากนั้นกลายเป็นเทพที่มีรูปเป็นหญิง
สัตว์เทพในตำนานของจีน
สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน” สิงโตมงคล คู่บารมี ” 
สิงโตเป็นสัตว์มงคล ที่มีลักษณะแห่งความเป็นเจ้า โดยสามารถใช้ สิงโตมงคล เพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาตต่างๆ และช่วยเรียกโชคลาภได้ แต่เนื่องจาก สิงโต มีพลังมากจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับบ้านอยู่อาศัยทั่วไป แต่เหมาะที่จะใช้สำหรับห้างร้าน บริษัท หรือสถานที่ราชการ
  • สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งเสือขาว (หันหน้าออกด้านขวามือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น “เส้าเป่า” เป็นสิงโตเพศเมีย มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ให้กับเจ้าชายของราชวงศ์ 
  • สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งมังกรเขียว (หันหน้าออกทางซ้ายมือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น “ไท่ซือ” เป็นสิงโตเพศผู้ มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ของกษัตริย์ หรือ ฮ่องเต้ ดังนั้นแม้แต่เชื้อพระวงศ์ หรือ บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ยังต้องให้ความเกรงใจและเกรงกลัว
  • รูปปั้น สิงโตมงคล จะต้องวางเป็นคู่ โดยวางสิงโตเพศผู้ไว้ทางซ้าย และ เพศเมียไว้ทางขวาที่บริเวณหน้าประตูของสถานที่นั้นๆ ให้หันหน้าออกไปทางด้านหน้า 
  • วิธีสังเกตุเพศของ สิงโตมงคล คือ สิงโตเพศผู้ เท้าหน้าจะเหยียบลูกบอล และ สิงโตเพศเมีย เท้าหน้าจะเหยียบลูก
  • คนจีนเรียกสิงโตว่า “ซือจือ” คำแรกในชื่อของสิงโตนี้ 
  • ปรากฏว่าไปพ้องเสียงกับคำว่า “ซือ” ที่ประกอบอยู่ในคำว่า “ไทซือ” อันแปลว่า มหาเสนาบดี 
ในสมัยราชวงศ์โจ้วนั้น “ตำแหน่งไทซือ” เป็นตำแหน่งที่ขุนนางชั้นสูงสุด เมื่อคนจีนจะอวยพรกันให้เป็นใหญ่เป็นโต หรือได้ดีในทางราชการ จึงนำ สิงโตมาใช้เป็นสัญลักษณ์ คำอวยพรหนึ่งที่ชอบกันมาก คือ ไท่ซือเส้าซือ แปลว่า ขอให้เป็นใหญ่ทั้งบิดา และ บุตร 
นอกจากนี้ สิงโต จะเป็นเครื่องหมายของความรุ่งเรืองและความมียศถาบรรดาศักดิ์ ยังมีอำนาจขจัดปีศาจและสิ่งชั่วร้าย ทั้งยังช่วยให้มีฐานะ และชื่อเสียง สิงห์คู่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้ายที่เข้ามาสู่ภายในบ้าน จะช่วยคุ้มครองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากการรบกวนของภูตผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำและคนพาล และจะช่วยหนุนส่งวาสนาให้รุ่งเรืองขึ้นด้วย เพิ่มพลังอำนาจให้แก่บ้าน 
สัตว์เทพในตำนานของจีน
สัตว์เทพเจ้าในตำนานของจีน
ปี่เซี๊ยะ ( เทพร่ำรวย )
ปี่เซี๊ยะ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ปี่เซียะ ปี่ คือตัวผู้ ส่วนเซียะคือตัวเมีย สองเขาจะเรียกว่าปี่เซียะ ส่วนเขาเดียวจะเรียกว่าเทียนลก ทางเหนือของจีนจะเรียกว่า ปี่เซียะ ส่วนทางใต้จะเรียกว่า เทียนลก ถ้าเป็นตัวเดียวจะเป็นตัวเสี่ยงโชค แต่ถ้าเป็นคู่สำหรับวัตุถุมงคล สำหรับขจัดสิ่งชั่วร้ายคนจีนสมัยก่อนจึงมักเขียนภาพ หรือตั้งปติมากรรม รูป ปี่เซี๊ยะ ไว้ตามประตูบ้าน และสุสานทั่วไป บางทีก็ประดับไว้บนหลังคาพระราชวังต่าง ๆ เพื่อให้มันช่วยขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายนั้นเอง ว่ากันว่ามีพลังในการกำราบสิ่งชั่วร้าย
  • สำเนียงจีนกลาง เรียก ปี่เซี๊ยะ
  • สำเนียงแต้จิ๋ว เรียก ผี่ชิว
  • สำเนียกกวางตุ้ง เรียก เพเย้า
  • หรืออาจเรียกในชื่ออื่น ๆ เช่น เถาปก หรือ ฝูปอ นี้เป็นคำเรียกรวม ๆ ของ สิ่งซิ้วสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
  • คำว่าปี่ หรือ ผี่ นั้น แปลว่า ปิด เร้นลับหลบซ่อน
  • คำว่า ปี่เซี๊ยะ หรือ ชิว คือ อาถรรพณ์ สิ่งไม่ดี คุณไสย ภูติปีศาจ
  • คำว่าปี่เซี๊ยะ หรือ ผี่ชิว จึงแปลได้ว่า ขจัดอาถรรพณ์
สัตว์เทพในตำนานของจีน
ปัจจุบัน พีซิว ตัวดังกล่าว ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน
ปี่เซี๊ยะ คือ เทพลก กวางสวรรค์มี 1 เขา มีปากไม่มีทวาร เชื่อกันว่าทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก ร้านค้าหรือธนาคารนิยมมีไว้ บูชาเพื่อเก็บกักเงินทองไม่ให้รั่วไหลขจัดสิ่งอัปมงคล ว่าเทพเซียนปี่เซี๊ยะจะลงมาคุ้มครองและให้โชคลาภนับแต่นี้ไปอีก 20 ปี
  • ตระกูลหนึ่งใน จดหมายเหตุฮั่นชุ ในภาคที่ว่าด้วย ดินแดนทางประจิมทิศ มีข้อความระบุไว้ว่า “ในแคว้นหลีแถบเขาอูเกอซาน นั้นมีสัตว์ตระกูลนี้ปรากฏอยู่ลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย นั้นคือ เทียจนลก เทียนหลู่ ตัวคล้ายกวาง หางยาว มีเขาเดียว “
มีตำนานเล่าขานในทางมงคลถึง พีซิว มากมายโดยเฉพาะเรื่องราวในยุคต้นราชวงศ์ “ชิง” (ราชวงศ์แมนจู) เล่ากันว่า เมื่อยุคเฉียนหลงฮ่องเต้ ครั้งยังเป็นองค์รัชทายาท เรียกกันว่า “องค์ชายสี่” มีนักพรตท่านหนึ่งนำ พีซิว มามอบให้ โดยกำชับให้หมั่นดูแลทะนุถนอม พีซิวจักคุ้มครอง ปกป้องภัย และส่งพลังให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ซึ่งองค์ชายสี่ก็ได้ทำตามนั้น จวบจนต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงพระราชทานยศตำแหน่งแก่ พีซิว นาม “เทียนลู่” (บารมียศแห่งสวรรค์) และอยู่คู่เฉียนหลงฮ่องเต้ตลอดรัชสมัย 60 ปีที่ครองราชย์ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแห่งการครองราชย์อันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน